.

การคำนวณวงเงินลงทุนที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้

ตามประกาศ สกท ที่ ป.12/2544 โครงการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2544 เป็นต้นไป จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 31 โดยกำหนดวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้ไม่เกินร้อยละ 100 ของเงินลงทุน โดยในเบื้องต้นจะกำหนดให้ตามขนาดการลงทุนในคำขอรับส่งเสริม แต่จะปรับเปลี่ยนวงเงินในวันเปิดดำเนินการ
      ค่าใช้จ่ายที่นับเป็นขนาดการลงทุนซึ่งใช้เป็นฐานในการคำนวณวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้ จะแตกต่างกันในกรณีโครงการริเริ่ม และโครงการขยาย ดังนี้
รายการค่าใช้จ่ายโครงการริเริ่มโครงการขยาย
สำนักงาน / โรงงานซื้อ / ก่อสร้างใหม่OO
เช่า (สัญญามากกว่า 3 ปี)OO
ใช้อาคารเดิมที่ไม่ได้ใช้งานมาก่อนOO
ใช้ร่วมกับกิจการเดิมXX
เครื่องจักรซื้อ / เช่าซื้อOO
เช่า (สัญญาเกินกว่า 1 ปี)OO
บริษัทแม่ให้มาOO
ค่าใช้จ่ายก่อนเปิดดำเนินการค่าจัดตั้งบรษัท อื่นๆOX
ทรัพย์สินอื่นๆอุปกรณ์สำนักงาน และยานพาหนะOX
ค่าที่ดินXX
ค่าชาการXX
เงินทุนหมุนเวียนXX
  1. ค่าก่อสร้างอาคาร
    1. กรณีก่อสร้างเอง
          ได้แก่ ค่าก่อสร้างโรงงานและอาคารสำนักงาน โดยรวมถึงค่าสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ รวมถึงค่าปรับปรุงและต่อเติมอาคารเดิมด้วย
          ใช้ราคาทุนที่ได้มา ดังนี้
      1. กรณีว่าจ้างบริษัทรับเหมาก่อสร้าง
            ต้นทุนคือจำนวนเงินที่กิจการตกลงตามสัญญาก่อสร้าง
      2. กรณีที่ก่อสร้างเอง
            การคำนวณต้นทุนเริ่มตั้งแต่ค่าเขียนแบบ ค่าธรรมเนียมขออนุญาต ค่าวัสดุก่อสร้าง ค่าแรง ค่าทำฐานราก จนกระทั่งอาคาร/โรงงานเสร็จ
    2. กรณีซื้ออาคาร
          ใช้มูลค่าตามสัญญาซื้อขาย
    3. กรณีใช้อาคารที่มีอยู่เดิมโดยเป็นอาคารที่ไม่ได้ใช้งานมาก่อน
          ใช้ราคาสุทธิตามบัญชีของงวดบัญชีก่อนยื่นคำขอรับการส่งเสริม
    4. กรณีเช่าอาคารโรงงาน
          ใช้ค่าเช่าตามสัญญาเช่า ซึ่งต้องมีระยะเวลาการเช่ามากกว่า 3 ปี และจดทะเบียนกับสำนักงานที่ดินแล้ว
  2. ค่าเครื่องจักร ค่าติดตั้ง ค่าทดลองเครื่อง
        หมายถึง เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เป็นไปตามคำจำกัดความตามมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 และประกาศ สกท ที่ ป.1/2546 ซึ่งต้องมีใช้อยู่ในโครงการนั้นจริงในวันเปิดดำเนินการ
    1. กรณีซื้อเครื่องจักร
          ใช้ราคาทุน / ราคาที่ได้มาของค่าเครื่องจักร ค่าติดตั้ง ค่าทดลองเครื่อง ค่าวิชาการที่รวมอยู่ในต้นทุนเครื่องจักร เช่น ค่าวิศวการ ค่าออกแบบ และในกรณีที่ได้รับส่งเสริมในกิจการซอฟต์แวร์หรือกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ให้รวมถึงค่าเครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมด้วย
      1. กรณีบันทึกบัญชีเป็นทรัพย์สิน
            ต้องแสดงไว้ในงบการเงินที่มีผู้สอบบัญชีตรวจสอบรับรองการมีอยู่จริงของสินทรัพย์ในรอบบัญชีนั้น
      2. กรณีบันทึกบัญชีเป็นค่าใช้จ่าย หรือไม่ได้บันทึกบัญชีเป็นทรัพย์สิน
            ต้องแนบเอกสารหลักฐานการซื้อขาย
    2. กรณีเช่าซื้อและเช่าแบบลีสซิ่ง
          ให้ใช้มูลค่าตามสัญญาเช่าซื้อ หรือเช่าแบบลีสซิ่ง โดยบันทึกบัญชีไว้ และจะต้องแนบสัญญาเช่านั้น
    3. กรณีเช่าเครื่องจักร
          ให้ใช้มูลค่าตามสัญญาเช่า ซึ่งต้องมีระยะเวลาเช่ามากกว่า 1 ปี โดยบันทึกบัญชีไว้ และจะต้องแนบสัญญาเช่านั้น
    4. กรณีเครื่องจักรที่บริษัทในเครือให้มาโดยไม่คิดค่าตอบแทน และได้ระบุไว้ในคำขอรับการส่งเสริม
          ให้ใช้มูลค่าตามบัญชีของบริษัทที่ให้เครื่องจักร โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ยื่นขอรับการส่งเสริม และจะต้องแนบเอกสารหลักฐานการนำเข้าเครื่องจักรนั้น
    5. กรณีจำนองเครื่องจักร
          ให้ใช้ราคาทุน / ราคาที่ได้มาเช่นเดียวกับเครื่องจักร เช่นเดียวกับกรณีซื้อเครื่องจักร
  3. ค่าใช้จ่ายก่อนเปิดดำเนินการ
        หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งบริษัทใหม่ ได้แก่ ค่าเดินทาง ค่าทนายความ ค่าธรรมเนียม และค่าหนังสือบริคณฑ์สนธิ
        ใช้มูลค่าที่บันทึกบัญชี และเอกสารหลักฐานนั้น
  4. มูลค่าทรัพย์สินอื่นๆ
    1. ค่าอุปกรณ์สำนักงาน และยานพาหนะ
          ให้นับเฉพาะกรณีขอรับส่งเสริมในนามบริษัทที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ และกรณีคำขอโยกย้ายสถานประกอบการเท่านั้น โดยใช้มูลค่าที่บันทึกบัญชี และเอกสารหลักฐานนั้น
    2. ค่าสัมปทาน ค่าประทานบัตร และสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติที่จ่ายให้กับรัฐ
          ใช้มูลค่าที่บันทึกบัญชี และเอกสารหลักฐานนั้น
      แต่ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นโครงการโยกย้ายสถานประกอบการ จะไม่อนุญาตให้นำมูลค่าเครื่องจักรที่โยกย้ายจากสถานประกอบการเดิม มาคำนวณเป็นมูลค่าการลงทุนของโครงการในที่ตั้งแห่งใหม่

เอกสารประกอบการตรวจสอบ
  1. ทะเบียนทรัพย์สิน
  2. หลักฐานประกอบการซื้อขายและการชำระเงิน เช่น ใบส่งของ ใบกำกับสินค้า ใบขนสินค้าขาเข้า ใบเสร็จรับเงิน
  3. งบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีรับรอง
  4. ภงด.50 สำหรับปีที่บริษัทได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไปแล้ว
  5. สัญญาเช่าทรัพย์สิน เช่น สัญญาเช่าอาคาร สัญญาเช่าเครื่องจักร

แนวทางการตรวจสอบ
  1. จะตรวจสอบมูลค่าการลงทุนโดยพิจารณาจากงบการเงินในหมวดทรัพย์สิน
  2. กรณีที่บริษัทมีทรัพย์สินเพิ่มเติมจากวันปิดงบการเงินจนถึงวันเปิดดำเนินการ จะตรวจสอบเอกสารสำคัญอื่นเพิ่มเติม เช่น ใบส่งของ ใบเสร็จรับเงิน ใบขนสินค้าขาเข้า
  3. เครื่องจักรตามทะเบียนทรัพย์สิน จะต้องไม่เป็นเครื่องจักรที่นำเข้าหรือซื้อมาก่อนวันที่ยื่นคำขอรับการส่งเสริม
          กรณีที่นำเข้าหรือซื้อมาก่อนวันที่ยื่นคำขอ จะต้องระบุไว้ในขั้นยื่นคำขอรับการส่งเสริมด้วย แต่หากไม่ได้ระบุไว้ จะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า เครื่องจักรดังกล่าวยังไม่เคยก่อให้เกิดรายได้ก่อนวันที่ยื่นคำขอรับการส่งเสริม
  4. เครื่องจักรตามทะเบียนทรัพย์สิน จะต้องไม่เป็นเครื่องจักรเก่าใช้แล้ว เว้นแต่จะมีเงื่อนไขอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรเก่าใช้แล้วได้
  5. วันที่เปิดดำเนินการ คือ
    • วันครบกำหนดเปิดดำเนินการตามที่ระบุในบัตรส่งเสริม หรือ
    • วันที่ได้รับอนุญาตให้ขยายเวลาเปิดดำเนินการ หรือ
    • วันที่บริษัทพร้อมเปิดดำเนินการ แต่ต้องไม่หลังจากวันครบกำหนดเปิดดำเนินการ
  6. มูลค่าทรัพย์สินที่จะนำมาคำนวณการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้องนำเข้าหรือซื้อมาก่อนวันที่เปิดดำเนินการเท่านั้น ดังนั้น หากบริษัทปฏิบัติตามเงื่อนไขให้เป็นไปตามโครงการได้ภายหลังจากวันที่ครบกำหนดเปิดดำเนินการ จะคำนวณมูลค่าการลงทุนตามวันที่ครบกำหนดเปิดดำเนินการเท่านั้น
  7. กรณีที่บริษัทได้รับส่งเสริมหลายโครงการ มูลค่าเงินลงทุนที่ตรวจสอบจะต้องเป็นมูลค่าการลงทุนของแต่ละโครงการเท่านั้น
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ป้ายกำกับ : BOI-Advisor             
ติอต่อ คุณฉลาด รักรู้
มือถือ : 094-478-3987
Email : winyour2011@gmail.com    Website : boiadvisor.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น