.

นโยบายส่งเสริมการลงทุน

เพื่อบรรเทาภาระด้านการคลังของประเทศ และเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันและแนวโน้มอนาคต คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้กำหนดนโยบายส่งเสริมการลงทุน ตามประกาศคณะกรรมการ ที่ 1/2543 ไว้ดังนี้
  1. ควบคุมการใช้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากรให้คุ้มค่า โดยการให้สิทธิประโยชน์แก่โครงการที่มีประโยชน์ต่อเศรษกิจอย่างแท้จริง และกำหนดให้ต้องรายงานผลการดำเนินงานเพื่อให้ตรวจสอบก่อนการใช้สิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้ในปีนั้น ๆ
  2. โครงการลงทุนตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) ต้องดำเนินการให้ได้รับใบรับรอง ISO หรือเทียบเท่า
  3. ปรับมาตรการส่งเสริมการลงทุนให้สอดคล้องกับข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศ โดยยกเลิกเงื่อนไขส่งออก และเงื่อนไขการใช้ชิ้นส่วนในประเทศ
  4. ให้การสนับสนุนเป็นพิเศษ สำหรับการลงทุนในภูมิภาคหรือท้องถิ่นที่มีรายได้ต่ำ หรือมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการลงทุนน้อย โดยให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ด้านภาษีอากรสูงสุด
  5. สนับสนุนอุตสาหกรรมขนาดกลางและเล็ก โดยกำหนดขนาดการลงทุนขั้นต่ำของโครงการขั้นต่ำไว้เพียง 1 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน)
  6. ให้ความสำคัญแก่กิจการเกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร กิจการพัฒนาเทคโนโลยีและทรัพยากรมนุษย์ กิจการสาธารณูปโภค สาธารณูปการและบริการพื้นฐาน กิจการป้องกันรักษาสิ่งแวดล้อม และอุตสาหกรรมเป้าหมาย
การกำหนดภูมิภาคหรือท้องถิ่นที่มีรายได้ต่ำ หรือมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการลงทุนน้อย
      คณะกรรมการแบ่งพื้นที่ให้การส่งเสริมการลงทุนเป็น 3 เขต โดยกำหนดท้องที่ในทุกจังหวัดในเขต 3 เป็นเขตส่งเสริมการลงทุน และให้ท้องที่ 23 จังหวัดในเขต 3 เป็นเขตส่งเสริมการลงทุนที่ได้รับสิทธิประโยชน์เป็นพิเศษ ตามประกาศ กกท ที่ 1/2543 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ กกท ที่ 7/2547 และ 5/2554ดังนี้
เขต 1 (6 จังหวัด)กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร
เขต 2 (12 จังหวัด)กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี นครนายก พระนครศรีอยุธยา ภูเก็ต ระยอง ราชบุรี สมุทรสงคราม สระบุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง
เขต 3 (36 จังหวัด)กระบี่ กาแพงเพชร ขอนแก่น จันทบุรี ชัยนาท ชุมพร เชียงราย เชียงใหม่ ตรัง ตราด ตาก นครราชสีมา นครศรีธรรมราช นครสวรรค์ ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี พังงา พัทลุง พิจิตร พิษณุโลก เพชรบุรี เพชรบูรณ์ มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ระนอง ลพบุรี ลาปาง ลาพูน เลย สงขลา สระแก้ว สิงห์บุรี สุโขทัย สุราษฏร์ธานี อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี
เขต 3 (23 จังหวัด)กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ นครพนม นราธิวาส น่าน บึงกาฬ บุรีรัมย์ ปัตตานี พะเยา แพร่ มหาสารคาม ยโสธร ยะลา ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สกลนคร สูตล สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลาภู อานาจเจริญ อุบลราชธานี และอุดรธานี
การขยายเวลาให้โครงการที่ลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง และนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมในเขต 2 และเขต 3 ได้รับสิทธิและประโยชน์เป็นพิเศษ
      จากการที่คณะกรรมการได้เปลี่ยนแปลงท้องที่บางจังหวัด ซึ่งเดิมเป็นเขต 3 ให้กลายเป็นเขต 2 ทำให้โครงการที่จะตั้งโรงงานในนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมดังกล่าวได้รับสิทธิประโยชน์ลดน้อยลง
      ดังนั้น เพื่อผ่อนผันให้กิจการที่ตั้งในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง และนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับส่งเสริมในเขต 2 และเขต 3 ได้รับสิทธิและประโยชน์ตามหลักเกณฑ์เดิม
      คณกรรมการจึงกำหนดข้อยกเว้นในการให้สิทธิประโยชน์แก่โครงการดังกล่าว โดยจะต้องยื่นขอรับการส่งเสริมภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2557 ตามประกศ กกท ที่7/2547 และ 1/2552 ดังนี้
  1. โครงการที่ตั้งโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง และนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับส่งเสริมในจังหวัดระยอง และนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับส่งเสริมในเขต 3 จะให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ ดังนี้
    • ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
    • ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุุคคล 8 ปี
    • ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นสำหรับส่วนที่ผลิตเพื่อส่งออก 5 ปี
    • ลดหย่อนอากรขาเข้าวัตถุดิบตามมาตรา 30 ร้อยละ 75 เป็นเวลา 5 ปี ทั้งนี้ ไม่รวมโครงการที่ตั้งโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง และนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมในจังหวัดระยอง
    • ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 50 เป็นเวลา 5 ปี นับจากวันที่พ้นกำหนดระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
    • ให้หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า และค่าประปา เป็น 2 เท่า เป็นเวลา 10 ปี นับจากวันที่เริ่มมีรายได้
    • ให้หักค่าติดตั้งหรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกจากกำไรสุทธิ ร้อยละ 25 ของเงินลงทุนในกิจการที่ได้รับการส่งเสริม ภายใน 10 ปี นับจากวันที่เริ่มมีรายได้ ทั้งนี้ นอกเหนือไปจากการหักค่าเสื่อมราคาปกติ

  2. โครงการที่ตั้งโรงงานในนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับส่งเสริมในเขต 2 (ยกเว้นนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง และนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมที่่ได้รับส่งเสริมในจังวัดระยอง) ได้รับสิทธิและประโยชน์ ดังนี้
    • ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
    • ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุุคคล 7 ปี
    • ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นสำหรับส่วนที่ผลิตเพื่อส่งออก 1 ปี
กิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
      คณะกรรมการกำหนดกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ตามประกาศ กกท ที่ 1/2543 ดังนี้
  1. กิจการเกษตรกรรม และผลิตผลจากการเกษตร
  2. กิจการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการพัฒนาเทคโนโลยีและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  3. กิจการสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และบริการพื้นฐาน
  4. กิจการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและรักษาสิ่งแวดล้อม
  5. อุตสาหกรรมเป้าหมาย == อุตสาหกรรมเป้าหมายซึ่งประกาศประเภทกิจการไว้ตามประกาศ กกท 1/2543 นั้น ปัจจุบันได้ถูกยกเลิกแล้ว ตามประกาศ กกท ที่ 10/2552==
      กิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ จะได้รับสิทธิประโยชน์ ตามประกาศ กกท ที่ 10/2552 ดังนี้
  1. ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรไม่ว่าจะตั้งอยู่ในเขตใด
  2. ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 8 ปี ไม่ว่าจะตั้งอยู่ในเขตใด
  3. สิทธิและประโยชน์อื่นๆ ให้ได้รับตามประกาศ กกท ที่ 1/2543
กิจการที่มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อประเทศเป็นพิเศษ
      กิจการที่มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อประเทศเป็นพิเศษ ที่กำหนดในบัญชีท้ายประกาศ กกท ที่ 10/25 52 จะได้รับสิทธิประโยชน์ ดังนี้
  1. ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรไม่ว่าจะตั้งอยู่ในเขตใด
  2. ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 8 ปี ไม่ว่าจะตั้งอยู่ในเขตใด โดยไม่กำหนดสัดส่วนการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
  3. สิทธิและประโยชน์อื่นๆ ให้ได้รับตามประกาศ กกท ที่ 1/2543
กิจการอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า
      กิจการอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ ตามประกาศ กกท ที่ 4/2549เรื่อง นโยบายส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ดังนี้
  1. ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรทุกเขต ตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริม
  2. ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนี้
    1. เขต 1 ยกเว้นภาษี 5 ปี
    2. เขต 2 ยกเว้นภาษี 6 ปี
    3. เขต 2 ในนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับส่งเสริม ยกเว้นภาษี 7 ปี
    4. เขต 3 ยกเว้นภาษี 8 ปี
  3. สิทธิประโยชน์อื่นๆ ให้ได้รับตามประกาศ กกท ที่ 1/2543
  4. การปรับปรุงเครื่องจักรเดิมสำหรับผลิต Integrated Curcuit (IC), Hard Disk Drive (HDD) และชิ้นส่วน HDD ให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่จะได้รับส่งเสริมด้วย
  5. จะต้องเสนอแผนการใช้ชิ้นส่วนหรือวัตถุดิบด้วย
อุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน
      กำหนดมาตรการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่ให้ส่งเสริมการลงทุนเป็นพิเศษ 3 กลุ่ม เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศให้มีความยั่งยืน ตามประกาศ กกท ที่ 1/2556 โดยจะต้องยื่นคำขอภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2556 ดังนี้
  1. กลุ่มกิจการเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานและพลังงานทดแทน
  2. กลุ่มกิจการผลิตวัสดุและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  3. กลุ่มกิจการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง
      อุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน ตามประกาศ กกท ที่ 1/2556 จะได้รับสิทธิประโยชน์ ดังนี้
  1. ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
  2. ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 8 ปี โดยไม่กำหนดสัดส่วนการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
  3. ได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการลงทุน ในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติ มีกำหนดเวลาไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันที่กำหนดระยะเวลาตามมาตรา 31 สิ้นสุดลง
  4. ได้รับอนุญาตให้หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า และค่าประปา 2 เท่า ของจำนวนเงินที่ผู้ได้รับส่งเสริมได้เสียไปเป็นค่าใช้จ่ายในการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริม เพื่อประโยชน์ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นเวลา 10 ปี นับแต่วันที่เริ่มมีรายได้จากกิจการที่ได้รับส่งเสริม
  5. ได้รับอนุญาตให้หักเงินค่าติดตั้งหรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกจากกำไรสุทธิไม่เกินร้อยละ 25 ของเงินลงทุนในกิจการที่ได้รับการส่งเสริม โดยผู้ได้รับส่งเสริมจะเลือกหักจากกำไรสุทธิของปีใดปีหนึ่งหรือหลายปีก็ได้ ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่มีรายได้จากกิจการที่ได้รับการส่งเสริม ทั้งนี้นอกเหนือไปจากการหักค่าเสื่อมตามราคาปกติ
  6. สิทธิและประโยชน์อื่นๆ ให้ได้รับตามประกาศ กกท ที่ 1/2543
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ป้ายกำกับ : BOI-Advisor             
ติอต่อ คุณฉลาด รักรู้
มือถือ : 094-478-3987
Email : winyour2011@gmail.com    Website : boiadvisor.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น