.

หลักเกณฑ์การให้สิทธิและประโยชน์

โครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน อาจได้รับสิทธิและประโยชน์ต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน ดังนี้
  1. สิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากร ได้แก่
    - มาตรา 25      ให้นำช่างฝีมือต่างด้าว คู่สมรส และบุคคลที่อยู่ในอุปการะเข้ามาในราชอาณาจักร
    - มาตรา 26ให้ช่างฝีมือและผู้ชำนาญการที่เป็นคนต่างด้าวทำงานได้
    - มาตรา 27ให้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริม
    - มาตรา 37ให้บุคคลที่มีภูมิลำเนาอยู่นอกราชอาณาจักรนำหรือส่งเงินออกไปต่างประเทศได้
  2. สิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากร ได้แก่
    - มาตรา 28ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
    - มาตรา 29ลดหย่อนอากรขาเข้าเครื่องจักรกึ่งหนึ่ง
    - มาตรา 30ลดหย่อนอากรขาเข้าวัตถุดิบไม่เกิน 90% ของอัตราปกติเพื่อการผลิตจำหน่ายในประเทศ
    - มาตรา 31ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
    - มาตรา 34ยกเว้นภาษีเงินได้จากเงินปันผล
    - มาตรา 35(1)ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตรา 50%
    - มาตรา 35(2) ให้หักค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า และค่าขนส่งในอัตรา 2 เท่า
    - มาตรา 35(3) ให้หักค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในอัตรา 25% นอกเหนือจากการหักค่าเสื่อมราคาตามปกติ
    - มาตรา 36(1)ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบสำหรับการผลิตเพื่อการส่งออก
    - มาตรา 36(2)ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อส่งกลับออกไปต่างประเทศ

      แนวทางการให้สิทธิและประโยชน์
            การให้สิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากร และสิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากร กำหนดแนวทางไว้ดังนี้
      1. สิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากร
        • ให้ได้รับเท่าเทียมกันทุกเขตที่ตั้ง และทุกประเภทอุตสาหกรรม
        • ให้ได้รับตลอดระยะเวลาที่ได้รับการส่งเสริม
      2. สิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากร
              มีแนวทางการให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากร 3 แนวทางดังนี้

        2.1ให้ตามเขตที่ตั้งโรงงาน ดังนี้
        • ให้โครงการในเขต 1 ได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากรน้อยที่สุด และให้โครงการในเขต 3 (23 จังหวัด) ได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากรมากที่สุด
        • ให้โครงการที่ตั้งโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม หรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริม ได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากรมากกว่าโครงการที่ตั้งอยู่นอกนิคมหรือเขตอุตสาหกรรม
        สิทธิประโยชน์ในเขต 1

        ภาษีเงินได้เครื่องจักรวัตถุดิบอื่นๆ
        นอกนิคมxลดหย่อน 50%1 ปี-
        ในนิคม3 ปี-

        สิทธิประโยชน์ในเขต 2

        ภาษีเงินได้เครื่องจักรวัตถุดิบอื่นๆ
        นอกนิคม3 ปีลดหย่อน 50%1 ปี-
        ในนิคม5 ปี-

        สิทธิประโยชน์ในเขต 3 (36 จังหวัด)

        ภาษีเงินได้เครื่องจักรวัตถุดิบอื่นๆ
        นอกนิคม8 ปียกเว้น5 ปีม. 35(2)
        ในนิคม8 ปี +
        ลดหย่อน 50% 5 ปี
        ม. 35(3)

        สิทธิประโยชน์ในเขต 3 (23 จังหวัด)

        ภาษีเงินได้เครื่องจักรวัตถุดิบอื่นๆ
        นอกนิคม8 ปี +
        ลดหย่อน 50% 5 ปี
        ยกเว้น5 ปีม. 35(2)
        ม. 35(3)
        ในนิคม

        ข้อยกเว้น (1)
        โครงการในนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมในเขต 2 (ยกเว้นนิคมอุตสาหรรมแหลมฉบัง และจังหวัดระยอง) ที่ยื่นคำขอภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2557
        ภาษีเงินได้เครื่องจักรวัตถุดิบอื่นๆ
        7 ปียกเว้น1 ปี-

        ข้อยกเว้น (2)
        โครงการในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง นิคมหรือเขตอุตสาหกรรมในจังหวัดระยอง และนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมในเขต 3 ที่ยื่นคำขอภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2557
        ภาษีเงินได้เครื่องจักรวัตถุดิบอื่นๆ
        8 ปี +
        ลดหย่อน 50% 5 ปี
        ยกเว้น5 ปีม.30 (75%) 5 ปี
        ม. 35(2)
        ม. 35(3)
        หมายเหตุ : โครงการในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง และนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมในจังหวัดระยอง จะไม่ได้รับสิทธิตามมาตรา 30
        2.2ให้ตามประเภทอุตสาหกรรมที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะ เช่น
        1. กิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ได้แก่
          • กิจการเกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร
          • กิจการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการพัฒนาเทคโนโลยีและทรัพยากรมนุษย์
            • กิจการวิจัยและพัฒนา
            • กิจการบริการทดสอบวิทยาศาสตร์
            • กิจการบริการสอบเทียบมาตรฐาน
            • กิจการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
          • กิจการสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และบริการพื้นฐาน
            • กิจการสาธารณูปโภคและบริการพื้นฐาน
            • กิจการขนส่งมวลชนและสินค้าขนาดใหญ่
          • กิจการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและรักษาสิ่งแวดล้อม
            • กิจการนิคมอุตสาหกรรมเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
            • กิจการบริการบำบัดน้ำเสีย กำจัดหรือขนถ่ายขยะ กากอุตสาหกรรม หรือสารเคมีที่เป็นพิษ
          • อุตสาหกรรมเป้าหมาย
            • การผลิตชิ้นส่วนเหล็กหล่อเฉพาะที่ใช้เตาหลอมแบบ Induction Furnace
            • การผลิตชิ้นส่วนเหล็กทุบ
            • การผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ ได้แก่
              • การผลิตแม่พิมพ์และชิ้นส่วน
              • การผลิตอุปกรณ์จัดยึด
              • การผลิตเครื่องจักรอุตสาหกรรม
              • การผลิตอุปกรณ์หรือวัสดุสำหรับงานตัด กัด กลึง เซาะ ไส เจียร ขัด และทำเกลียว ที่ใช้กับเครื่องจักรที่มีความเที่ยงตรงสูง
            • การผลิตชิ้นส่วนผงโลหะอัดขึ้นรูป
            • การผลิตหรือซ่อมอากาศยาน รวมทั้งชิ้นส่วนอุปกรณ์อากาศยาน
            • การผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะ ได้แก่
              • การผลิตระบบเบรค ABS
              • การผลิต Substrate สำหรับ Catalytic Converter
              • การผลิต Electronic Fuel Injection System
            • การชุบแข็ง
            • การผลิตสารหรือแผ่นสำหรับไมโครอิเล็กทรอนิกส์
            • กิจการออกแบบทางอิเล็กทรอนิกส์
            • กิจการซอฟต์แวร์
            • กิจการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์
            • กิจการศูนย์กระจายสินค้าระหว่างประเทศด้วยระบบที่ทันสมัย
        2. กิจการผลิตเหล็กแผ่นเคลือบ
        3. กิจการตัดและแปรรูปโลหะแผ่น (Coil Center)
        4. กิจการฟอกย้อมและแต่งสำเร็จ
        5. กิจการประกอบรถยนต์
        6. กิจการชุบเคลือบผิวด้วยโลหะ หรือ Anodize (Surface Treatment)
        7. กิจการผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน
        8. กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
        9. กิจการโรงกลั่นน้ำมัน
        10. กิจการบริการและสาธารณูปโภคที่มีการกำหนดสิทธิและประโยชน์เป็นการเฉพาะ
        2.3ให้ได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมตามประกาศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น
        • ให้ขยายระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรการ STI
        • ให้ได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมจากการโยกย้ายสถานประกอบการ เป็นต้น
      -----------------------------------------------------------------------------------------------------------
        ป้ายกำกับ : BOI-Advisor             
        ติอต่อ คุณฉลาด รักรู้
        มือถือ : 094-478-3987
        Email : winyour2011@gmail.com    Website : boiadvisor.blogspot.com

        ไม่มีความคิดเห็น:

        แสดงความคิดเห็น